ป้ายสั่งซื้อเครื่องฟักไข่ machine4biz header-banner

เผย! วิธีการเก็บไข่ที่มีเชื้ออย่างถูกต้อง ก่อนเข้าตู้ฟักไข่

สวัสดีครับ วันนี้ผม อ.หนึ่ง จากตู้ฟักไข่ตราไก่ไทย มีลูกค้าถามผมเข้ามามากมายไม่ว่าจะเป็น

  • ไข่มีเชื้ออยู่ได้กี่วัน ?
  • เก็บไข่ไว้ในตู้เย็นทำยังไง ทำแบบไหน?
  • วิธีเก็บไข่ไก่อย่างไรให้ได้เยอะที่สุด ในการฟักแต่ละรุ่น ?

วันนี้ผมเลยจะมาแชร์เทคนิควิธีการเก็บไข่มีเชื้อ ให้อยู่ได้นานถึง 7 วัน (บางที 10 วัน) ก่อนจะนำเข้าตู้ฟักไข่ โดยยังคงสภาพความแข็งแรงของเชื้อ

การฟักไข่แต่ละครั้ง (แนะนำว่า) ควรจะทำการฟักเป็นรุ่น ๆ ไป โดยรวบรวมไข่ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ และเก็บเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้หลังจากที่ออกมาจากแม่ไก่

เก็บ 2-3 ครั้งต่อวัน สำหรับช่วงที่สภาพอากาศแปรปรวน เพื่อที่จะได้นำไข่ทั้งหมดเข้าตู้ฟักพร้อมกันเป็นชุด (จะฟักออกพร้อมกัน) ระหว่างเก็บไข่นั้นควรจะเก็บอย่างระมัดระวังมือ อย่าให้ไข่มีรอยร้าว แตกเป็นอันขาด

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนทำการเก็บไข่

  1. ไข่ที่ผ่านการทับกัน(ผสมพันธุ์)ระหว่างไก่ตัวผู้ และไก่ตัวเมีย
  2. ตู้แช่หรือช่องแช่ผัก
  3. ตู้ฟักไข่พลิกไข่อัตโนมัติ (แนะนำโดย อ.หนึ่ง)

อุณหภูมิสำหรับเก็บไข่ที่เหมาะสม

ไข่ที่เก็บนั้นต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิ 10-20 องศาเซลเซียส หากต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส จะส่งผลให้ตัวอ่อนตาย ส่วนถ้าสูงกว่า 20 องศาเซลเซียล จะทำให้ตัวอ่อนเริ่มพัฒนาเป็นตัว และตายในที่สุดเนื่องจากอุณหภูมิไม่เหมาะสมแก่การฟักไข่

เก็บไข่มีเชื้อ ก่อนเข้าตู้ฟัก

การเก็บไข่มีวิธีการดังนี้

  • นำไข่มาวางเรียงกันในถาดใส่ไข่พลาสติกใสที่เราซื้อจากซูปเปอร์มาเก็ต โดยให้วางด้านแหลมทิ่มลงด้านล่าง เพื่อให้ช่องอากาศอยู่ที่ด้านบน นำไข่ไปเก็บไว้ในที่แห้งสนิท อุณหภูมิ 10-20 องศาเซลเซียส หรือแช่ในตู้เย็นโดยให้เก็บในช่องแช่ผักเท่านั้น (ควรจะวัดอุณหภูมิให้แน่ใจว่า ตู้เก็บไข่ของเราอุณหภูมิตามข้างต้นแล้ว) และควรกลับไข่ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง เพื่อลดอัตราการตายของตัวอ่อน (ป้องกันตัวอ่อนติดเปลือกไข่)
  • การแช่ไข่ไว้ในที่เย็นนี้จะช่วยให้สามารถเก็บไข่ไว้ได้ประมาณ 7 วัน (บางที 10 วัน) หากเกินกว่านั้นจะทำให้อัตราการฟักต่ำและเชื้อตายได้
การฟักไข่ด้วยตู้ฟักไข่

ก่อนนำไข่เข้าตู้ฟักไข่มีวิธีการดังนี้

  • ควรทำการอุ่นไข่ที่แช่เย็น ก่อนนำไข่เข้าตู้ฟักไข่ โดยนำไข่ออกมาผึ่งให้ได้อุณหภูมิที่ประมาณอุณหภูมิห้องอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ในการอุ่นไข่ส่งผลให้มีหยดน้ำมาเกาะที่เปลือกไข่มีข้อเสียคือ ถ้ามีเชื้อโรคเกาะอยู่บริเวณผิวเปลือกไข่จะทำให้เชื้อโรคออสโมซิสเข้าไปในไข่ได้ อาจจะทำให้ลูกไก่ที่ฟักออกมาไม่สมบูรณ์ ดังนั้นควรหาทิชชู่ หรือผ้าแห้งช่วยเช็ดหยดน้ำที่เกาะเปลือกไข่ไว้จนกว่าอุณหภูมิไข่จะเท่ากับสภาพอากาศภายนอก

ข้อแนะนำสำหรับการเก็บไข่มีเชื้อ

  • ไม่ควรล้างไข่เป็นอันขาด สำหรับไข่ที่มีสิ่งสกปรกติดมาบนเปลือก เนื่องจากน้ำจะเป็นตัวพาเชื้อโรคต่าง ๆ ผ่านเข้าเปลือกไข่
  • หากต้องการเขียนบันทึกวันที่เก็บไข่ไว้ที่เปลือก ไม่ควรใช้ปากกา หรือหมึกใดๆ เขียน แนะนำให้ใช้ดินสอเขียนแทน เนื่องจากบางทีหมึกจะส่งผลอันตรายต่อตัวอ่อนภายในได้
  • ปกติแล้วตามสูตรที่ทาง อ.หนึ่ง ใช้อยู่จะเก็บไข่ไว้ที่ 17.7 – 18.3 องศาเซลเซียล

เขียนและเรียบเรียงโดย อ.หนึ่ง จากซุ้มไก่ไทย

www.machine4biz.com

www.facebook.com/machine4biz/

ใช้ตู้ฟักไข่ โอกาสฟักสำเร็จสูงกว่าฟักตามธรรมชาติ

ไม่ต้องห่วงเรื่องสภาพอากาศ ตู้ฟักอุณหภูมิคงที่

ไม่ต้องกลับไข่เอง ด้วยระบบพลิกไข่อัตโนมัติทุก ๆ 2 ชม.

เซ็นเซอร์คุณภาพดีแม่นยำ ใช้ฟักสัตว์ปีกได้ทุกชนิด

ให้ผลผลิตที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อัตราฟักสูง…